ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ฝ้า, พ่า, ไม้ผ้า, ช้าแป้น
ฝ้า, พ่า, ไม้ผ้า, ช้าแป้น
Callicarpa arborea Roxb.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Lamiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Callicarpa arborea Roxb.
 
  ชื่อไทย ฝ้า, พ่า, ไม้ผ้า, ช้าแป้น
 
  ชื่อท้องถิ่น ช้าแป้น ลำแคด(ลั้วะ), ไม้ผ้า(ไทใหญ่), ลำแค้ด(ลั้วะ), ลำจอล(ลั้วะ), ปูฮ่า(อาข่า)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ช้าแป้นเป็นไม้ต้น สูง 4–12 ม. กิ่งอ่อนค่อนข้างเป็นเหลี่ยมสี่มุม มีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเทา เปลือกต้นขรุขระมีรอยแตกเป็นร่อง ส่วนต่างๆ เมื่อยังอ่อนอยู่มีขนสั้นสีเทา หรือสีเหลืองปกคลุม ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 5–12 ซม. ยาว 8–30 ซม. ปลายใบแหลม หรือเรียวแหลม โคนใบแหลม ขอบเรียบ หรือหยัก ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขน เส้นแขนงใบ 8–12 คู่ ก้านใบยาว 2.5–6 ซม. ดอก เล็ก สีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ยาวประมาณ 15 ซม. ผล ขนาดเล็ก กลม ผิวเรียบ สีม่วง ฉ่ำน้ำ มี 1 เมล็ด
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เปลือกต้น ใช้เข้ายาสมุนไพรแก้สารพัดโรคหรือต้มน้ำอาบช่วยขับน้ำคาวปลาในผู้หญิงที่เพิ่งคลอดลูก(ไทใหญ่)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ)
- ลำต้น ใช้ทำฟืน(ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(ไทใหญ่)
- เปลือก ต้มดื่มเป็นส่วนผสมของยารักษาวัณโรค, เคี้ยวกับหมาก (อาข่า)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
http://www.dnp.go.th/Pattani_botany/พันธุ์ไม้/ป่าบก/ช้าแป้น/ช้าแป้น.htm
 
  สภาพนิเวศ ช้าแป้นมีการกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งบนเขา ออกดอกเดือนมีนาคม เป็นผลตอนปลายฤดูฝน
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง